satang pro referral

Pivot Point

เครื่องมืออีกชิ้นหนึ่งที่เราอยากแนะนำให้ท่านรู้จัก คือ Pivot Point เท รดเดอร์มืออาชีพ และ Market Maker นิยมที่จะใช้ Pivot point นี้มาเป็นเครื่องมือในการหาแนวรับแนวต้านที่สำคัญ ที่อาจเกิดการกลับตัวของราคาได้ในระดับแนวรับแนวต้านนั้นๆ เราอาจเห็นว่า Pivot point นั้นมีความคล้ายคลึงกับ Fibonacci อยู่มากทีเดียว แต่ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างทั้งสองอย่างก็คือการใช้ Fibonacci เราสามารถเลือกจุดสวิงสูงสุด และต่ำสุดได้ตามที่เราต้องการ แต่การใช้ Pivot point เราจะไม่สามารถเลือกสวิงได้ แต่เราจะใช้ค่าเดียวที่ได้จากการคำนวณ

เจ้า Pivot point นี้เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากสำหรับเทรดเดอร์ระยะสั้น ที่กำลังมองหาความได้เปรียบในการเคลื่อนไหวของทิศทางราคาในระยะสั้น สามารถใช้ในการเล่น Swing trade โดยใช้หาจุดกลับตัวของราคา รวมทั้งยังสามารถหาจุด Breakout ของราคา และ ยังใช้ในการดูแนวโน้มระยะสั้นของแต่ละวันได้อีกด้วย
ตัวอย่างหน้าตาของ Pivot point




การคำนวณหา Pivot point
การ คำนวณ ระดับของ Pivot point และเส้นแนวรับ – แนวต้าน จะถูกคำนวณจากราคา  ราคาสูงสุด(H) , ราคาต่ำสุด(L) และ ราคาปิด (C) ของวันก่อนหน้านี้ และตั้งแต่ที่ตลาด Forex มีการเปิดทำการ 24 ชั่วโมง เทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะใช้เวลาปิดตลาดนิวยอร์ก คือ 04:00 EST เป็นเวลาปิดของตลาด
การคำนวณหา Pivot Point มีดังต่อไปนี้

Pivot point (PP) = (High + Low + Close) / 3
แนวรับแนวต้านที่ใช้ร่วมกัน จะถูกคำนวณหาจากค่าของจุด Pivot point ที่ได้อีกทีหนึ่ง

แนวต้านที่ 1 (R1) = (2 x PP) – Low
แนวรับที่ 1 (S1) = (2 x PP) – High
แนวต้านที่ 2  (R2) = PP + (High – Low)
แนวรับที่ 2   (S2) = PP – (High – Low)
แนวต้านที่ 3  (R3) = High + 2(PP – Low)
แนวรับที่ 3 (S3) = Low – 2(High – PP)

นี่ คือหลักในหารคำนวณ แต่คุณไม่ต้องกังวลเรื่องการคำนวณเหล่านี้เลย เพราะมีโปรแกรมที่ช่วยคำนวณหาทุกอย่างให้คุณอย่างเสร็จสรรพ หรือแม้แต่ Indicator ที่คุณสามารถนำมาใส่ในกราฟแล้วใช้ได้เลย ไม่ต้องมานั่งคำนวณเอง และในบางโปรแกรมยังให้รายละเอียดมากกว่าการคำนวณด้านบนด้วยซ้ำ คือมีการเพิ่มจุดกึ่งกลางระหว่างเส้นต่างๆเพิ่มขึ้นมาอีก ซึ่งเส้นกึ่งกลางที่เพิ่มขึ้นมานี้ก็ไม่ได้มีนัยสำคัญอะไรเหมือนกับเส้นหลัก แต่ก็แค่มีเพิ่มขึ้นมาเท่านั้น ดังตัวอย่างในภาพ
การใช้งาน Pivot Point
การใช้งาน Pivot point อย่างแรกเลยก็คือ ใช้เป็นแนวรับแนวต้านได้เป็นอย่างดี เพราะ ราคามันจะมาเทสที่เส้น ยิ่งมาเทสบ่อย แล้วไม่วิ่งผ่านทะลุไป หมายความว่าแนวรับ หรือแนวต้านนั้นมีความแข็งแกร่งมาก แสดงว่ามีแนวโน้มมาก ที่ราคาจะมีการกลับตัวได้ในตำแหน่งนั้นๆ
เมื่อ ราคาวิ่งมาอยู่บริเวณ Pivot point จะส่งสัญญาณที่ดีในการเทรดว่าควรจะเปิด Buy หรือ Sell และควรตั้ง TP และ SL ไว้ที่ไหน ซึ่งโดยปรกติแล้ว ถ้าราคาอยู่เหนือเส้น Pivot จะแสดงถึงแนวโน้มขาขึ้น และ ถ้าต่ำกว่าเส้น Pivot ก็จะแสดงแนวโน้มขาลง บาง คนจึงใช้จุดนี้ในการเข้าเทรดได้แบบง่ายๆ คือ ราคาอยู่เหนือ Pivot point ก็บาย ต่ำกว่า Pivot point ก็เซล ตามไป SL แค่เหนือน หรือต่ำกว่า จุด Pivot point ง่ายมั้ยคะ !!

ส่วน ถ้าคุณเห็นราคาอยู่ใกล้กับเส้นแนวต้านด้านบน คุณก็เซลลงมา และตั้ง SL เหนือระดับแนวต้านนั้น หรือถ้าคุณเห็นราคาอยู่เหนือเส้นแนวรับ คุณก็บายขึ้นไป และตั้ง TP ที่แนวต้านด้านบน และ ตั้ง SL ไว้ใต้แนวรับนั้น หรือห่างออกไปอีกแนวรับหนึ่ง ซึ่งก็แล้วแต่สถานการณ์และวิจารณญาณในขณะนั้นของแต่ละคน



ก็ เหมือนกันแนวรับแนวต้านทั่วๆไป Pivot point นั้นก็ต้านราคาไม่อยู่ตลอดไป บางครั้งราคาอาจจะวิ่งทะลุเส้นไปเป็น Breakout และบางทีราคาก็มาไม่มาเทสที่เส้นแนวรับแนวต้านต่างๆ อาจจะวิ่งมาแค่เฉียดๆ หรือ อยู่ในระยะที่ใกล้เคียง ก็เพราะมันไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ และไม่มีอะไรที่แน่นอน ดังนั้นบางครั้งถ้าเรามัวแต่รอให้ราคาวิ่งมาชนที่เส้น เราก็อาจพลาดจังหวะการเข้าออเดอร์ได้ เราลองมาดูตัวอย่างกัน ที่ EUR/USD TF M15



เรา จะเห็นว่า EUR/USD วิ่งขึ้นเป็นเทรนอย่างแข็งแกร่งตลอดทั้งวัน เราเห็นว่าราคาเปิดขึ้นเป็น Gap ขึ้นไปเหนือเส้น Pivot point ราคาวิ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งก่อนที่จะปรับระดับลดลงมาใกล้ๆ กับ ระดับ R1 แต่ไม่มาแตะที่เส้น แล้วในที่สุดก็พุ่งทะลุระดับ R2 ขึ้นไป 50 จุด ซึ่งถ้าในกรณีนี้คุณ ได้ตัดสินใจเข้าบาย ตอนที่เห็นราคาวิ่งทะลุเส้น R2 ขึ้นไป คุณก็จะทำกำไรได้ แต่ถ้าคุณรอที่จะให้ราคามาเทสที่เส้น R1 ก่อน คุณก็ต้องพลาดโอกาสไปอย่างช่วยไม่ได้ เพราะในตัวอย่างราคาไม่ได้กลับลงมาเทส ที่ R1 และ R2 เลย และสังเกตว่าราคาวิ่งไปถึง R3 เลยด้วยซ้ำ

อย่าง ไรก็ตามถ้าคุณยึดหลักการเข้าออเดอร์แบบก้าวร้าว คุณก็อาจโดนหลอกได้จากการพักตัวครั้งแรกของราคา ถ้าจุด SL ของคุณใกล้เกินไปราคาก็อาจจะวิ่งไปโดนได้ และต่อมาคุณก็อาจเห็นว่าราคามันทะลุมาได้ในที่สุด
หลัง จากที่คุณจะเห็นว่าราคาทะลุผ่านแนวต้านไปแล้ว มันก็จะกลับมาเทสเส้นแนวต้านที่มันเพิ่งผ่านทะลุไปเช่นกัน และสังเกตว่าราคาได้กลับตัวในวันต่อมาโดยปรับตัวลดลงทะลุแนว R3 ตอนนี้ก็เป็นโอกาสในการเปิดเซล เมื่อราคากลับมาเทสที่เส้น R3 (ตามภาพ)
จงไว้ว่า เมื่อแนวรับถูกทำลายมันจะกลายเป็นแนวต้านแทน (ตามหลักการ แนวต้าน กลายเป็นแนวรับ แนวรับ กลายเป็นแนวต้าน)

ไม่ ว่าเราจะใช้เครื่อมือใดๆก็ตามแต่ อย่างไรซะในการเทรดมันก็ยังมีความเสี่ยงอยู่ โดยพาะอย่างยิ่งในตลาด Forex ที่มีความผันผวนสูง ดังนั้นเราจึงควรมีเงื่อนไขในการเทรดด้วย ว่าเมื่อไหร่เราควรทำอะไร ต่อไปนี้เป็นภาพตัวอย่างการตั้ง TP และ SL



สังเกต ว่า เมื่อราคาวิ่งผ่านแนวต้านแต่ละแนวไป เราจะเซท SL ไว้ที่ใต้แนวรับนั้นๆ ส่วน เป้าหมายราคาหรือ TP ก็จะเป็นแนวต้านต่อๆไป หรือ ถ้าเป็นในทางกลับกัน ราคาวิ่งลงมา เราก็จะเซท SL ไว้ที่เหนือแนวต้าน แล้ว TP ที่แนวรับถัดๆไป นี่เป็นหลักการเบื้องต้นง่ายๆในการใช้ Pivot point ในการเทรด ประโยชน์ของมันเล็กน้อยแต่มากมายมหาศาลสำหรับคนที่รู้จักการนำมาปรับใช้
ขอบคุณข้อมูลจาก

Pivot Point Pivot Point Reviewed by Ps nackisaiah on ตุลาคม 28, 2561 Rating: 5
รูปภาพธีมโดย Petrovich9. ขับเคลื่อนโดย Blogger.