satang pro referral

หลักการเกิดกราฟแท่งเทียน

เนื้อหาของบทเรียนนี้จะพูดถึงหลักการเกิดของแท่งเทียน ว่าไส้เทียนเกิดขึ้นมาได้อย่างไร เนื้อเทียนมาจากไหน จะทำให้เราเข้าใจแท่งเทียนมากยิ่งขึ้น สำหรับใครที่ชำนาญเรื่องกราฟแท่งเทียนแล้วก็อยากให้อ่านสนุกๆไปนะครับ เผื่อมีบางจุดที่เราไม่เข้าใจ บางจุดที่เราลืมไป ถือว่าเป็นเกร้ดเล็กๆน้อยๆ



จากรูปตัวอย่างแสดงให้เห็นถึงการเกิดแท่งเทียน
โดยแท่งเทียนนี้มีวิธีการเกิดแท่งเทียนอยู่ 9 ขั้นตอน

1. ราคาเปิดมามีการตกลงมาเล็กน้อย
2. ราคายังมีการปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง
3. ราคามีการปรับตัวขึ้นเล็กน้อย ทำให้เกิดไส้เทียนขึ้น การที่มีไส้เทียนเพราะทำให้รู้ว่าครั้งหนึ่งราคาเคยมาถึงตรงนี้
4. ราคาก็ปรับตัวขึ้นมาอีกทำให้ไส้เทียนยาวขึ้น
5. ราคาปรับตัวขึ้นไปจนราคาปัจจุบันเท่ากับราคาเปิด ทำให้ไม่มีเนื้อเทียน มีแต่ไส้เทียนด้านล่างด้านบนไม่มีไส้เทียนเพราะราคาไม่เคยปรับตัวขึ้น แต่ราคาเคยมีการปรับตัวลงทำให้มีไส้เทียนด้านล่าง หรือทำให้เกิดแท่งเทียน Doji
6. ราคามีการปรับตัวขึ้นสูงกว่าราคาเปิดเล็กน้อยทำให้แท่งเทียนเปลี่ยนสีเป็นสีของแท่งเทียนเป็นสีของแท่งเขียนขาขึ้นเพราะตอนนี้ราคาปัจจุบันอยู่สูกว่าราคาเปิด
7. ราคามีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้เนื้อเทียนของแท่งเทียนขาขึ้นยาวขึ้น
8. ราคามีการปรับตัวเล็กน้อยทำให้เกิดไส้เทียนด้านบนขึ้นมา เพราะมันบ่งบอกว่าราคาเคยขึ้นมาถึงจุดนี้ แม้ราคาปัจจุบันจะอยู๋ต่ำกว่านี้
9. ราคาปัจจุบันมีการปรับตัวลงจนมาถึงราคาเปิด และมีไส้เทียนทั้งสองฝั่งไม่ว่าจะล่างหรือบน แต่เราจะสรุปไม่ได้ว่าแท่งเทียนนี้จะเป็นแท่งเทียนประเภทอะไรจนกว่าจะปิดแท่งเทียนนั้น

แท่งเทียนแต่ละแท่งก็จะแสดงต่างกันตามเวลา
เช่น แท่งเทียน 1 ชั่วโมงคือแท่งเทียนที่แสดงรายละเอียดข้อมูลภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง
ตัวอย่าง
ตอนเวลา 12.00 น. ราคาเปิดอยู่ที่ 15 บาท จนเมื่อเวลา 13.00 น. ราคาปิดอยู่ที่ 30 บาท ในระหว่างนี้มีจุดสูงสุดอยู่ที่ 40 บาท และมีจุดต่ำสุดอยู่ที่ 5 บาท
ไม่จะว่าจะเลือก Time Frame อะไรในเวลา 12.00 - 13.00 น. เช่น เลือก Time Frame 15min ก็แสดงจำนวนแท่งเทียน 4 แท่ง แต่ข้อมูลที่ออกมาก็เท่ากับแท่งเทียน Time Frame 1h แท่งเดียว

หลายคนอาจจะสับสนว่า Time Frame 1min, Time Frame 5min, Time Frame 15min, Time Frame 30min จะมีจำนวนแท่งเทียนแตกต่างกันแล้ว จะมีข้อมูลอันเดียวกันไหม แตกต่างกันไหมถ้าดู Time Frame ที่แตกต่างกัน จริงๆแล้วข้อมูลที่แสดงออกมาคือข้อมูลเดียวกัน ถ้าในช่วงเวลาเดียวกัน ในตัวอย่างที่ผมยกมาคือช่วงเวลา 12.00 - 13.00 น. คือช่วงเวลาภายใน 1 ชั่วโมง ผมจะพิสูจน์ให้ดูว่าข้อมูลที่แสดงมันเดียวกัน แต่รูปแบบที่แสดงจะแตกต่างกัน เช่น ถ้าเลือก Time Frame 15min ใน 1 ชั่วโมงจะแสดง 4 แท่ง แต่ถ้าเลือก Time Frame 1h ใน 1 ชั่วโมงจะแสดง 1 แท่ง แต่ข้อมูลที่แสดงจะมีค่าเท่ากันถ้าอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน
ลองดูตัวอย่างตามภาพนะครับ
ภาพในตัวอย่างข้างล่างคือ Time Frame 1h

ภาพในตัวอย่างข้างล่างคือ Time Frame 15min


เห็นได้ว่าข้อมูลในช่วงเวลา 12.00 น. - 13.00 น. ของ Time Frame 15 min 4 แท่งนี้ จะมีข้อมูลเดียวกับ Time Frame 1h แท่งเดียว ดูจากราคาเปิดอยู่ที่ 15 บาท(ราคาเปิดในเวลา 12.00 น.) และราคาปิดอยู่ที่ 30 บาท(ราคาปิดตอนเวลา 12.00 น.) ราคาสูงสุดใน 4 แท่งนี้คือ 40 บาท ราคาต่ำสุดใน 4 แท่งนี้คือ 5 บาท
เมื่อนำราคาเปิด ราคาปิด จุดต่ำสุด จุดสูงสุดของ Time Frame 15min 4 จะมีข้อมูลเดียวกับ Time Frame 1h เป๊ะเลย แสดงว่าไม่ว่าจะ Time Frame อะไรถ้าอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน ข้อมูลที่ออกมาจะตรงกันเสมอ
หลักการเกิดกราฟแท่งเทียน หลักการเกิดกราฟแท่งเทียน Reviewed by Ps nackisaiah on ตุลาคม 28, 2561 Rating: 5
รูปภาพธีมโดย Petrovich9. ขับเคลื่อนโดย Blogger.