satang pro referral

แผนการเทรดคืออะไร



แผนการเทรดคืออะไร ?
เชื่อว่านักลงทุนที่ประสบความสำเร็จนั้นรู้กันดีว่ามันคืออะไร แต่ก็ยังมีนักลงทุนอีกมากที่รู้จักแค่ว่ามันคือแผนการซื้อขาย แต่ไม่เคยสนใจว่ามันคืออะไร โดยเฉพาะนักลงทุนหน้าใหม่ หรือน้องเม่ามือใหม่ที่เข้ามาในตลาดก็จะกระโจนหา ระบบการซื้อขายขั้นเทพ, อินดิเคเตอร์เทพ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่มีคนบอกว่าดี เจ๋ง และทำกำไรให้กับบุคคลเหล่านั้นได้ มือใหม่หรือมือสมัครเล่นก็คิดว่า “คนนั้นเค้าทำแบบนี้ ใช้อันนี้แล้วกำไรเยอะเลย ถ้าเราทำตามเค้า เราต้องรวยแน่ๆ” อย่าปฏิเสธว่าคุณไม่เคยเป็นแบบนั้น เทรดเดอร์น้อยคนนักที่จะเริ่มหาความรู้จากขั้นพื้นฐาน และพยายามหาทางพัฒนาตัวเอง

แผนการเทรดก็เปรียบเสมือน GPS ของเทรดเดอร์
เป็นสิ่งที่เทรดเดอร์มืออาชีพต้องมี แผนการเทรดนี้ไม่ได้หมายถึงระบบการเทรด คุณต้องแยกให้ออกระหว่างแผนการเทรดและระบบการเทรด ระบบการเทรดคือวิธีการที่คุณจะใช้เพื่อตัดสินใจเปิดหรือปิดออเดอร์ ซึ่งจะเป็นส่วนประกอบหนึ่งในแผนการเทรด แต่แผนการเทรดนั้นคือการวางแผนในการซื้อขาย ว่าคุณจะทำอะไร เมื่อไหร่ อย่างไร เมื่อเวลานั้นมาถึงคุณก็รู้ว่าคุณต้องทำอย่างไร และถ้าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เป็นไปตามที่คุณหวังไว้ คุณก็จะไม่ต้องตกใจจนตัดสินใจผิดพลาด หรือถ้าคุณเกิดขาดทุน คุณก็จะไม่กระวนกระวาย ร้องไห้คร่ำครวญ นั่งตีอกชกตัวต่อว่าตัวเอง ต่อว่าโชคชะตาที่โหดร้ายกับคุณซะเหลือเกิน เพราะคุณได้วางแผนทุกอย่างเอาไว้แล้ว (ถ้าล้ม ก็ล้มบนฟูก) นอกจากนี้ส่วนประกอบของแผนการเทรดยังรวมถึง การวิเคราะห์ตลาด การตรวจสอบผลการเทรดที่ผ่านมา วางแผนการซื้อขายในครั้งต่อไป มีระเบียบวินัยทำตามแผนการที่วางไว้อย่างเคร่งครัด รวมถึงการวางแผนทางการเงิน

แผนการเทรดนี้จะเป็นแผนการเฉพาะบุคคล 
ไม่สามารถลอกเลียนหรือทำตามกันได้ เพราะแต่ละคนมีสไตร์การใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมือนกัน มีเวลาในการเทรดไม่เท่ากัน บางคนทำงานประจำ บางคนอยู่บ้านเฉยๆ และคุณมีเป้าหมายต่างกัน บางคนอาจจะเทรดเพื่อกำไรแค่ 10% ใน 1 สัปดาห์ ในขณะที่บางคน ต้องการ 100% ของเงินทุน ใน 1 เดือน หรือแม้กระทั่งนิสัยที่แตกต่างกัน บางคนใจเย็นรอได้ บางคนใจร้อนไม่ชอบรออะไรนานๆ ก็จะใช้แผนการเทรดแบบเดียวกันไม่ได้ ดังนั้น “แผนการเทรดคือสิ่งที่สะท้อนความเป็นตัวคนของคุณ” จึงเป็นสิ่งที่คุณต้องวางแผนเอง ไม่สามารถลอกเลียนแบบกันได้ ตัวคุณเองเท่านั้นที่รู้ดีที่สุดว่าอะไรที่คุณต้องการ และอะไรที่ดีที่สุดสำหรับคุณและความต้องการของตัวคุณ
ระบบการเทรด ก็คือวิธีที่เราใช้ในการตัดสินใจซื้อขาย อย่างเช่น คุณอาจจะใช้การดูการตัดกันของเส้น Moving Average ในการเข้า-ออกออเดอร์ หรือดูสัญญาณจาก MACD หรือ การดูพฤติกรรมของแท่งเทียน ดูแนวรับแนวต้าน ฯลฯ หรือจะใช้หลายอย่างรวมกันเพื่อใช้ในการตัดสินใจซื้อขาย ซึ่งคุณอาจจะมีมากกว่า 1 ระบบ เพื่อใช้ในสถานการณ์ที่ต่างกัน แต่ก็ไม่ควรเปลี่ยนไปมาบ่อยเกินไป

เมื่อคุณมีระบบในการซื้อขายแล้ว
คุณก็ต้องทำตามอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง แม้ว่าคุณอาจจะได้กำบ้าง หรือขาดทุนบ้างจากระบบเทรดนี้ ซึ่งคุณจะต้องมีระเบียบวินัยและความอดทนเพื่อที่จะผ่านช่วงเวลาที่เลวร้ายไป ให้ได้ ส่วนมากของเทรดเดอร์ที่ล้มเหลวมักจะเปลี่ยนระบบการเทรดไปเรื่อยๆ เมื่อขาดทุนก็จะไม่ทน แต่จะโทษระบบเทรดว่าไม่ดี แล้วจะมองหาระบบเทพใหม่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ใครว่าอันไหนดีก็ขอใช้ด้วย แต่คุณลืมไปว่า ระบบที่ทำกำไรให้เขา อาจจะไม่ใช่ระบบที่ทำกำไรให้คุณก็ได้ แต่ถ้าคุณอดทนอยู่กับระบบเทรดของคุณ พิจารณาหาข้อบกพร่อง และพัฒนามันให้ดีขึ้นตลอดเวลา แม้ว่าบางครั้งคุณจะขาดทุนสลับกับการได้กำไร แต่สุดท้ายแล้วคุณก็จะได้กำไรมากกว่าขาดทุนในระยะยาว จงจำไว้ว่า การเทรดแบบมืออาชีพ ไม่ใช่ว่าคุณต้องได้กำไรครั้งละมากๆ แต่มันคือการเทรดให้ได้กำไรอย่างสม่ำเสมอ
นอกจาก นี้ คุณยังจะต้องมีหูตาที่กว้างไกลเพื่อรับข่าวสารการลงทุนต่างๆ และนำมาวิเคราะห์หาแนวโน้มของตลาดในแต่ละวัน ข่าวเมื่อวานมีอะไรบ้าง ตอนนี้ตลาดมีสภาพเป็นเช่นไร แล้ววันนี้จะมีข่าวอะไรออกมาในช่วงใดบ้าง ทำไมจึงต้องสนใจ ก็อย่างที่เรารู้กันดีอยู่ว่าตลาดโฟเร็กเป็นตลาดที่ราคาวิ่งโดยไม่มีลิมิ ตและมีความไวต่อข่าวมาก โดยเฉพาะเวลาที่มีการประกาศตัวเลขที่สำคัญทางเศรษฐกิจราคาจะวิ่งอย่างรวด เร็วและรุนแรง ดังนั้นคุณจึงควรจะเตรียมตัวให้พร้อมก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงการซื้อขายของตลาด ในแต่ละวัน

การวางแผนจัดการเงินในบัญชี (Money Management)
ก็ คือการควบคุมความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนของคุณนั่นเอง คุณต้องรู้ว่าคุณสามรถจะเสี่ยงได้สูงสุดเท่าไหร่ คุณสามารถเสียได้เท่าไหร่ อย่างเช่น ถ้าคุณมีเงินทุน $100 แล้วคุณจำกัดความเสี่ยงของพอร์ตไว้ที่ 20% คุณก็ไม่ควรปล่อยให้ขาดทุนมากกว่า -$20 เป็นต้น ที่สำคัญคุณไม่ควรจะนำเงินร้อน หรือเงินที่คุณจำเป็นจะต้องนำไปใช้จ่ายอย่างอื่นมาลงทุน เพราะนั่นจะทำให้คุณเกิดความเครียดและกดดันอย่างมากถ้าราคาไม่เป็นไปตามที่ คุณคาดการณ์ไว้ แทนที่จะได้กำไรสุดท้ายคุณอาจจะขาดทุนและเดือดร้อนด้วย ดังนั้นเงินที่คุณนำมาลงทุนควรเป็นเงินเย็นที่คุณสามารถเทรดเสียได้โดยไม่มี ความกดดัน

อย่างที่ได้ กล่าวไว้เบื้องต้นว่าคุณควรจะตรวจสอบระบบการเทรดของคุณตลอดเวลา วิธีการตรวจสอบที่ดีที่สุดก็คือ “การทำบันทึกการเทรด” ซึ่งก็เหมือนการเขียนบันทึกประจำวัน เขียนทุกอย่างลงไปในนั้น ไม่ว่าจะเป็นจุดที่คุณเข้าออกออเดอร์ ผลกำไรขาดทุน ซึ่งในส่วนนี้คุณอาจจะทำเป็นตารางเพื่อให้ดูง่ายขึ้น รวมทั้งเหตุผลว่าทำไมคุณจึงเปิด หรือ ปิดออเดอร์ วันนี้มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นในตลาดบ้าง มีข่าวอะไรและราคาวิ่งยังไง อารมณ์ของคุณเองในแต่ละวันว่าเป็นอย่างไร ถ้าคุณอารมณ์ไม่ดีหรือกังวล อะไรคือสาเหตุ รวมถึงย้อนดูระบบการเทรดของคุณว่ามีอะไรผิดพลาดหรือไม่ มีอะไรที่คุณควรปรับปรุงหรือเปล่า เพราะว่าโลกเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน ระบบเทรดของคุณก็ต้องมีการพัฒนาตามความเปลี่ยนแปลงนั้นด้วย
ผิดไหมถ้าหากคุณ ไม่ทำตามแผนการเทรดแล้วคุณได้กำไร? สิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่อันตรายมากกว่าที่คุณคิด เพราะถ้าคุณคิดว่าคุณไม่ต้องมีแผนก็สามารถเทรดทำกำไรได้ มันก็อาจสงผลเสียในระยะยาว คือ คุณจะละเลยไม่ทำตามแผนการเทรดไปเรื่อยๆ จนในที่สุดคุณอาจเทรดโดยไม่มีแผนเลย แล้วที่นี้คุณก็จะได้กำไรบ้างเป็นครั้งคราว แต่ในระยะยาวคุณอาจจะขาดทุนมากกว่ากำไร จำไว้ว่า แม้ว่าระบบเทรดของคุณจะดีแค่ไหนก็ตาม มันจะไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิง ถ้าคุณไม่ทำตามแผนการเทรดอย่างต่อเนื่องและจริงจัง

ประโยชน์ของระบบเทรด คือ
  1. จะช่วยให้คุณเดินทางไปสู่เป้าหมายของคุณได้โดยที่ไม่หลงทาง เมื่อคุณผิดพลาด คุณก็จะรู้ได้ทันทีว่าต้องทำอย่างไรเพื่อแก้ไข
  2. ทำให้คุณมีระเบียบวินัยในการลงทุนมากขึ้น และรู้ว่าควรวางแผนการเงินของคุณอย่างไร
  3. ทำให้คุณกล้าเมื่อเวลาที่ต้องตัดสินใจ และลดจำนวนความผิดพลาดในการตัดสินใจ
  4. ทำให้คุณไม่รู้สึกกดดันเมื่ออยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน และรู้ว่าควรทำอย่างไร
  5. คุณจะรู้ตัวตลอดเวลาว่ากำลังทำอะไร คุณยืนอยู่ตรงจุดไหนของเส้นทางสู่เป้าหมาย
  6. ช่วยให้คุณ รู้ถึงข้อบกพร่องและสาเหตุในเทรด ซึ่งจะช่วยให้ง่ายที่จะแก้ไขจุดบกพร่องต่างๆเพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพการลงทุน ของคุณต่อไปในอนาคต
  7. คุณจะมีทักษะและประสบการณ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการมีวินัยลอดทนของคุณเอง
แผนการเทรดคืออะไร แผนการเทรดคืออะไร Reviewed by Ps nackisaiah on ตุลาคม 28, 2561 Rating: 5
รูปภาพธีมโดย Petrovich9. ขับเคลื่อนโดย Blogger.