ตอนที่ 1 พื้นฐาน Elliott Wave
Elliott Wave การนับเวฟโดยใช้เครื่องมือ Fibonacci Retracement ช่วย ตอนที่ 1 พื้นฐาน Elliott Wave
ก่อนจะพูดถึง Elliott Wave เรามาเข้าใจกันก่อนว่าราคาหุ้นหรือสินค้าที่เราต้องการดูมักมีลักษณะอย่างไร ไม่ต้องคิดให้ยืดยาว ตลาดหุ้น มี 3 สถานะ
หลังจาก จบคลื่น 1 2 3 4 5 นี้แล้ว มักจะมีคลื่น corrective waves ใหญ่อีกชุด เป็นการชี้ว่าจบเวฟชุดนี้แล้วครับ ก็คือคลื่น A B C จากในรูปข้างบนนี่แหละครับ
ทีนี้ในเวฟ หลัก อาจจะมีเวฟย่อยอยู่ ตามรูป ข้างล่างนี้นะครับเราจะเห็นเว่าเวฟ 1 ใหญ่ จะมี 1 2 3 4 5 a b c แทรกซ่อนอยู่อีกชั้น ในเวฟ 3และ 5 ใหญ่ก็เช่นกัน รูปแบบหลักๆ ของ Elliott Wave จะเป็นแบบนี้
เราพูด ถึงรูปแบบ Elliott Wave ในอุดมคติ กันมาแล้ว แต่ในทางปฏิบัติ จริง Elliott Wave สามารถ แบ่งแยก เป็นรูปแบบต่างๆได้อีกมากมายนะครับ รวมถึงขนาดของแต่ละเวฟ มันก็ต้องปรับกันไปตามสถานการณ์ ขนาดของเวฟ 3 เวฟ 5 ไม่สามารถใช้ ตัวคูณข้างบนนั้นได้เสมอไป เราใช้วิธีการหาค่าที่มีนัยสำคัญเป็นหลักนะครับ และใช้ร่วมกับ Trend Linesและ เส้น EMA ทั้งหมดที่เขียนมาข้างต้นเพื่อให้พอจะเข้าใจคอนเซปคร่าวๆของ Elliott Wave นั้นเอง
และรอบหน้าเราจะมาพูดถึงการใช้เทคนิค Fibonacci Retracement ในการนับเวฟ หาราคาเป้าหมาย ในตัวอย่างจริงแบบในรูปข้างล่างนี้กันครับ
ก่อนจะพูดถึง Elliott Wave เรามาเข้าใจกันก่อนว่าราคาหุ้นหรือสินค้าที่เราต้องการดูมักมีลักษณะอย่างไร ไม่ต้องคิดให้ยืดยาว ตลาดหุ้น มี 3 สถานะ
- ตลาดขาขึ้น หรือ Up Trend ก็คือตลาดที่ราคาปิด ของวันนี้ สูงกว่าราคาปิดของเมื่อวานนั้นเอง จะเป็นขาขึ้นกี่วันก็แล้วแต่ เดี๋ยวเราจะได้เรียนรู้การคาดการณ์กันว่า จุดราคาที่เราคาดการณ์ว่าเป็นจุดสูงสุดนั้น เขาหากันยังไง
- ตลาดขาลง หรือ Down Trend ก็คือตลาดที่ราคาปิดวันนี้ ต่ำกว่าราคาปิดวันก่อน จะนานแค่ไหนสำหรับเทรนด์นี้ ก็เช่นเดียวกับ ตลาดขาขึ้น เดี๋ยวเราจะว่ากันว่าดูยังไง
- ตลาดออกข้าง หรือ Side way ก็คือตลาดที่ราคา ปิดวันนี้กับเมื่อวานเท่ากับ หรือใกล้เคียงกันนั้นเองครับ
ทีนี้ในเวฟ หลัก อาจจะมีเวฟย่อยอยู่ ตามรูป ข้างล่างนี้นะครับเราจะเห็นเว่าเวฟ 1 ใหญ่ จะมี 1 2 3 4 5 a b c แทรกซ่อนอยู่อีกชั้น ในเวฟ 3และ 5 ใหญ่ก็เช่นกัน รูปแบบหลักๆ ของ Elliott Wave จะเป็นแบบนี้
กฏพื้นฐานของ Elliott Wave นั้นจะเป็นดังนี้นะครับ
- เมื่อจบเวฟ 1 เวฟ 2 มักจะลง เป็นขนาด 32.8% 50% หรือ 61.8% ของขนาดของเวฟ 1 ขนาดหากันยังไง ก็ให้เอาราคาที่จบเวฟ 1 ลบด้วยราคาที่เริ่มต้นเวฟ นั้นแหละครับ อันนี้ไม่ต้องจำ เดี๋ยวพอถึง ห้วข้อการใช้เครื่องมือ Fibonacci Retracement ในการวัดขนาดเวฟ ก็จะง่ายๆเอง
- เวฟ 3 มักจะมีขนาด 61.8% หรือ 161.8% ของขนาดเวฟ 1 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ว่าตลาดขึ้นแรงแค่ไหน โดยเอาเป้าราคาเวฟ 3 ที่ได้เริ่มนับตรงจุดที่เวฟ 2
- เวฟ 4 มักจะย่อลงมาไม่เกินยอดของเวฟ 1 ยกเว้นใน future มักจะให้ลงเยอะกว่าได้ครับ
- เวฟ 5 มักมีขนาด 323.6% ของเวฟ 1โดยให้เริ่มนับที่จุดสิ้นสุดเวฟ 1 หรือจุดเริ่มต้นของเวฟ 1 ก็ได้แล้วแต่สภาพความร้อนแรกงของตลาด
- เวฟ c มักสิ้นสุดแถวๆเวฟ 4 เวฟ a หลายๆครั้งมักใช้เวฟ 3 เป็นแนวรับ(กรณี เกิดเวฟ 5 ที่แรงน้อย double top เป็นต้น) เวฟ b อาจจะมีขนาดเท่ากับ wave a หรือ น้อยกว่าก็ได้
- เวฟ a b c อาจจะมีลักษณะเป็น Flats หรือ zig-zag ก็ได้ ความแตกต่างของสองตัวนี้หลักๆคือ flat มีเวฟ c ขนาดเท่าๆกับเวฟ b ส่วน zig-zag เวฟ c ยาวกว่า รายละเอียดลึกกว่านี้เดี๋ยวว่ากันโอกาสหน้าครับ
เราพูด ถึงรูปแบบ Elliott Wave ในอุดมคติ กันมาแล้ว แต่ในทางปฏิบัติ จริง Elliott Wave สามารถ แบ่งแยก เป็นรูปแบบต่างๆได้อีกมากมายนะครับ รวมถึงขนาดของแต่ละเวฟ มันก็ต้องปรับกันไปตามสถานการณ์ ขนาดของเวฟ 3 เวฟ 5 ไม่สามารถใช้ ตัวคูณข้างบนนั้นได้เสมอไป เราใช้วิธีการหาค่าที่มีนัยสำคัญเป็นหลักนะครับ และใช้ร่วมกับ Trend Linesและ เส้น EMA ทั้งหมดที่เขียนมาข้างต้นเพื่อให้พอจะเข้าใจคอนเซปคร่าวๆของ Elliott Wave นั้นเอง
และรอบหน้าเราจะมาพูดถึงการใช้เทคนิค Fibonacci Retracement ในการนับเวฟ หาราคาเป้าหมาย ในตัวอย่างจริงแบบในรูปข้างล่างนี้กันครับ
ตอนที่ 1 พื้นฐาน Elliott Wave
Reviewed by Ps nackisaiah
on
ตุลาคม 31, 2561
Rating: