satang pro referral

การตั้ง Stop Loss อย่างละเอียด


ในบทความนี้จะมาพูดถึงเรื่อง Stop Loss หรือ Cut loss เนื่องจากว่าการ Stop Loss นี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างมีความสำคัญมากเลยสำหรับเทรดเดอร์อย่างเราๆทั้งหลา ผมจึงได้จัดทำบทความนี้ขึ้นมา หวังว่าคงจะป็นโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย...

ก่อนอื่น จะต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า Stop Loss นั้นคืออะไร
ถ้าแปลตรงๆตัวเลย Stop Loss นั้นก็คือ "การหยุดขาดทุน" ซึ่งมีหน้าที่เดียวกับคำว่า Cut Loss นั้นเองที่แปลว่า "ตัดขาดทุน" อย่าเพิ่งสับสนนะครับ จริงๆแล้วเราจะเรียกแบบไหนก็ได้ครับเพราะสุดท้ายหน้าที่มันเหมือนกัน

ทำไหมเราถึงต้องมี Stop Loss?
เหตุที่เราต้องมี stop loss ก็เพราะว่าการเคลื่อนที่ของกราฟในแต่ล่ะวันเราไม่มีทางรู้ล่วงหน้า 100% แน่นอน ว่ากราฟนั้นจะเคลื่อนที่ไปทางไหน เมื่อเราไม่มีทางรู้แบบนี้ โอกาสที่เราจะคาดการณ์ผิดและขาดทุนก็ต้องมีแน่นอนเป็นธรรมดา แต่จะขาดทุนมากหรือน้อยนั้นตัวเราเป็นผู้กำหนด แต่ถ้าไม่มี Stop Loss ในการขาดทุน 1 ครั้งอาจจะล้างพอร์ตเลยก็ได้

เคยได้ยินคำนี้ไหม "ตลาดเป็นตัวกำหนดว่าจะให้เรากำไรได้เท่าไหร่ แต่เราเป็นคนกำหนดว่าเราจะขาดทุนได้เท่าไหร่"

หลายๆคนก็จะมีวิธีการหนีเมื่อราคาไม่เป็นไปตามอย่างที่คาดการณ์ (การหนีหมายถึงการ Stop Loss ) ต่างๆ นานาวิธีบางคนอาจจะกำหนดไว้ว่าจะหยุดขาดทุนกี่จุดดีกี่เปอร์เซ็นต์ดี บางคนอาจจะกำหนดการหยุดขาดทุนตามเวลา บางคนอาจจะหยุดขาดทุนตามสภาวะตลาด

การ Stop Loss จึงแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ ได้แก่
1. Equity Stop (หยุดขาดทุนกี่เปอร์เซ็นต์)
2. Time Stop (หยุดขาดทุนตามเวลา)
3. Market Conditions Stop (หยุดขาดทุนตามสภาวะตลาด)

1. Equity Stop (หยุดขาดทุนกี่เปอร์เซ็นต์)
Equity Stop (หยุดขาดทุนกี่เปอร์เซ็นต์) คือการหยุดขาดทุนตามเปอร์เซ็นต์หรือตามจำนวนจุดที่ตั้งไว้ หลายคนที่เข้ามาในตลาดอาจจะเคยได้ยินคำที่ว่า “ผมตั้ง Stop Loss ในแต่ละออร์เดอร์ 10 จุด” หรืออะไรประมาณนี้หรือไม่ก็ “ถ้าขาดทุนเกิน 2% ของต้นทุนแล้วผมจะทำการ Stop Loss เลย” หรือคำถามที่ว่า ”ผมควรตั้งStop Loss กี่จุดดี” วิธีนี้เป็นการตัดขาดทุนโดยไม่ดูสภาวะตลาดหรือไม่ดูความเหมาะสมของตลาดเลยเพียงแต่เรากำหนดว่าจะยอมขาดทุนกี่จุด เราก็จะตัดขาดทุนเมื่อราคาผิดทางมากี่จุด ซึ่งผมคิดว่าการตั้ง Stop Loss แบบนี้เป็นวิธีที่ไม่ดีเลย เพราะเป็นการหยุดขาดทุนแบบไม่ลืมหูลืมตา และเป็นการตั้งขาดทุนโดยที่ไม่มีเหตุผล

ดังนั้น ผมจึงไม่แนะนำท่านผู้อ่านให้หยุดขาดทุนโดยใช้วิธีการนี้ เนื่องจากการเป็นเทรดเดอร์ที่ดีจะต้อง เปิด ปิด ออร์เดอร์มีเหตุผลในทุกๆครั้งที่ทำการเทรด


2. Time Stop (หยุดขาดทุนตามเวลา)
Time Stop (หยุดขาดทุนตามเวลา) คือการหยุดขาดทุนตามเวลา ถ้าพูดมาแบบนี้ท่านผู้อ่านหลายคนอาจจะ “งง” ก็เป็นไปได้ว่าการหยุดขาดทุนตามเวลานั้นเป็นอย่างไร การหยุดขาดทุนตามเวลาคือ การหยุดขาดทุนเมื่อเราไม่แน่ใจหรือไม่อยากเสี่ยงกับอนาคตที่จะเกิดขึ้น เช่น บางคนอาจจะไม่เทรดข้ามวันแต่เมื่อพอจะนอนก็ทำการปิดออร์เดอร์ที่ถืออยู่ให้หมดแล้วจึงค่อยนอน, บางคนอาจจะไม่เทรดข้ามสัปดาห์เพราะกลัวความผันผวนที่อยู่ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ดังนั้นพอมาถึงวันศุกร์ก็พยายามปิดออร์เดอร์ให้หมด เป็นต้น

ดังนั้น วิธีนี้จึงเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในการตัดขาดทุนในตอนที่เราไม่มั่นใจหรือกลัวความเสี่ยงจะเกิดขึ้นในอนาคต

3. Market Conditions Stop (หยุดขาดทุนตามสภาวะตลาด)
Market Conditions Stop (หยุดขาดทุนตามสภาวะตลาด) คือการหยุดขาดทุนตามสภาวะตลาดเป็นมีกฎการหยุดขาดทุนที่ไม่ตายตัว จะเปลี่ยนรูปแบบและเทคนิคการ Stop Loss ไปตามสภาวะตลาด เช่น ถ้าราคาเคลื่อนที่เป็นเทรนก็จะทำการเลื่อน Stop Loss ไล่ตามราคา, ถ้าราคาเคลื่อนที่ในกรอบก็จะตั้ง Stop Loss ตามแนวรับแนวต้าน เป็นต้น วิธีนี้เป็นการหยุดขาดทุนแบบนี้เป็นการหยุดขาดทุนที่ต้องมีเหตุผล

ดังนั้น วิธีนี้จึงเป็นวิธีที่ผมอยากแนะนำ เนื่องจากเราไม่สามารถที่จะรู้ได้เลยว่าในอนาคตตลาดนั้นจะเคลื่อนที่ไปทิศทางไหนเมื่อไหร่กราฟจะแกว่งตัวมากหรือน้อย ปัจจัยเหล่านี้เราไม่สามารถรู้ได้อย่างแน่นอน 100% ดังนั้น การที่เราจะตั้งกฎตายตัวให้มันก็ย่อมไม่ใช่ความคิดที่ดี

ดูตัวอย่างการหยุดขาดทุนตามสภาวะตลาด ข้างล่างนี้

สมมุติว่า ราคาเคลื่อนที่ในกรอบเราก็ควรตั้ง Stop Loss ห่างออกจากแนวรับแนวต้านไปอีกนิดหนึ่ง เพื่อป้องกันการแกว่งตังที่จะเกิดขึ้น

เราก็ควรตั้ง Stop Loss ห่างออกจากแนวรับแนวต้านไปอีกนิดหนึ่งเพื่อป้องกันการแกว่งตั้งที่จะเกิดขึ้น

 สมมุติว่า ราคาเคลื่อนที่เป็นเทรนเราก็ควรตั้ง Stop Loss แบบเลื่อนตามราคา บางคนอาจจะเลื่อนตามจุดพักตัวเดิม หรือบางคนจะกำหนดระยะห่าง ไม่ควรตั้งนิ่งๆทิ้งไว้เฉยๆเพราะว่า ถ้าราคากลับตัวเราอาจจะพลาดกำไรครั้งใหญ่ทั้งๆที่เรานั้นควรจะได้มา สมมุติว่าราคานั้นได้มีการกลับตัวก็จะโดน Stop Loss อันล่าสุดที่เราตั้งไว้


มีความจริงคำหนึ่งที่ถูกกล่าวไว้ว่า “นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ จะมุ่งไปที่เสี่ยงน้อยสุด ไม่ใช่กำไรมากสุด”
หลังจากที่เรารู้ไปแล้วว่ามีแบบไหนบ้าง ทีนี้จะมาพูดถึงเรื่อง การ Stop loss แบบกว้างและแคบ

เริ่มจากการตั้ง Stop Loss แบบแคบ

ข้อดี ของการตั้ง Stop Loss แบบแคบ ก็คือ เมื่อราคาเคลื่อนที่ผิดทางเราจะขาดทุนไปไม่มาก นั้นเองครับ



ข้อเสีย ของการตั้ง Stop Loss แบบแคบ ก็คือ ถ้าราคามีการแกว่งตัวมากอาจจะโดน Stop Loss ของเราที่ตั้งไว้อาจจะทำให้เราพลาดโอกาสกำไรที่เราควรจะได้


การตั้ง Stop Loss แบบกว้าง

ข้อดี ของการตั้ง Stop Loss แบบกว้าง ก็คือ เมื่อราคามีการแกว่งตัวมากโอกาสที่ราคาจะโดน Stop Loss ได้ก็มีน้อยทำให้เราไม่พลาดโอกาสกำไรที่เราควรจะได้รับ
ข้อเสีย ของการตั้ง Stop Loss แบบกว้าง ก็คือ เมื่อราคามีการเปลี่ยนแนวโน้มอาจทำให้เราขาดทุนค่อนข้างมากหน่อย



“การตั้ง Stop Loss ที่ดีคือ การตั้งให้แคบที่สุด แต่ต้องกว้างพอที่จะให้ราคาแกว่งตัวได้”

เทคนิคเล็กๆน้อยๆในการตั้ง Stop Loss
ควรให้ Stop Loss แคบกว่า Take Profit อย่างน้อย 2 เท่าเพราะการที่เราขาดทุนแต่ล่ะครั้งมันยากที่จะกลับคืน





การตั้ง Stop Loss อย่างละเอียด การตั้ง Stop Loss อย่างละเอียด Reviewed by Ps nackisaiah on ตุลาคม 28, 2561 Rating: 5
รูปภาพธีมโดย Petrovich9. ขับเคลื่อนโดย Blogger.